.

คุยกันในส่วนของบ่อกรอง

จะมีหลักใหญ่ๆ เข้าใจง่ายๆ อยู่แค่ 2 ข้อครับ

1. ช่องกรองกายภาพ

2.ช่องกรองชีวภาพ 

” เรียกกรองหยาบ กับกรองละเอียดอายเค้านะ “

.

เริ่มที่ช่องกรองกายภาพก่อนนะครับ

ช่องกรองนี้จะเป็นช่องกรองแรกสุดที่จะทำงานครับ

น้ำในบ่อปลาทุกหยดที่มีทั้ง ขี้ปลา เศษอาหาร ใบไม้  จะต้องถูกดูดลงก้นบ่อแล้วไหลลงไปทางสะดือบ่อ ไปเข้าที่ช่องกรองนี้ทั้งหมดครับ  นึกภาพดูก็จะรู้ว่าช่องนี้รับภาระหนักมากแค่ไหนที่จะกักเก็บตะกอนทั้งหมดนี้ไว้ให้หมด

โดยมีเงื่อนไขสำคัญที่พลาดไม่ได้คือ เมื่อกักตะกอนเก็บไว้หมดแล้ว จะต้องไม่เกิดการอุดตันที่วัสดุกรองจนน้ำไหลผ่านต่อไปไม่ได้ ซึ่งจะเกิดปัญหาที่สำคัญมากคือน้ำจะไหลไปไม่ถึงช่องสุดท้ายของระบบกรองที่มีปั้มน้ำแช่อยู่ ทำให้น้ำในช่องนั้นแห้ง

ปั้มน้ำจะไหม้ได้ครับ อันตรายมาก

แต่มี่นี่มีคำตอบให้ครับ ^^

 

.

อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ทุกอย่างได้ครบถ้วนคือ

สุดยอดแผ่นกรอง ScreenPro !!!!

fb saki food

.

คำถามตามมาทันทีเลยใช่ป่าวว่า ใช้ยังไง ?

แล้วแผ่นแบนๆ แบบนี้น้ำจะผ่านได้เหรอ …

… ตามมาเลยครับ …

ScreenPro10 cu

ดูกันแบบขยาย จะเห็นว่าหน้าแผ่นจะมีร่องให้น้ำลอดผ่านทั่วทั้งแผ่นครับ

ScreenPro มีความละเอียดสูงมากครับ … ขนาด 250 ไมครอน

ขนาดเอาบัตรประชาชนสอดในร่องไม่ได้ … แคบขนาดนั้นเลยครับ ^^

เอาเป็นว่า ตะกอนต่างๆ ที่สะดืดดูดเข้ามาในห้องแรกนี้จะผ่านแผ่นนี้ไปได้ก็ต้องเล็กขนาดฝุ่นผงแค่นั้นครับ

ซึ่งตะกอนเล็กน้อยแบบนี้ ปล่อยให้กรองระบบชีวภาพห้องถัดไปจัดการต่อได้สบายมากครับ

การใช้งานแผ่น ScreenPro ก็แค่ติดตั้งเฟรมที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับแผ่น ScreenPro โดยเฉพาะ

หน้าตาการใช้เป็นแบบนี้ครับ

ScreenPro+frame10

 

ตอบคำถามเรื่องการไหลผ่านของน้ำ

เห็นละเอียดมากขนาดนี้ แต่น้ำไหลผ่านได้คล่องมากนะครับ ก็ด้วยเทคนิคการผลิตที่ทำเพื่อระบบกรองโดยตรงนี่นา ^^ เชื่อใจได้เลย ผมทดสอบมาแล้ว

1 แผ่น รองรับได้ที่ 10,000 ลิตร/ชั่วโมงเลยนะเนี่ย

ถ้าอยากรู้ว่าบ่อของเราจะต้องใช้กี่แผ่นก็ให้ดูที่ปั้มน้ำของเรานะครับ 

เช่น ปั้มน้ำ 10,000 ลิตร/ชั่วโมง ก็ให้ใช้ 1 แผ่น ถ้า ปั้ม 20,000 ลิตร/ชั่วโมง ก็ใช้ 2 แผ่น

การใช้งานแผ่น ScreenProในระบบ EasyClear ที่ง่ายที่สุด

fb EasyClear

บ่อที่วางแผนสร้างใหม่ หรือ ต้องการปรับระบบกรองให้จบในครั้งเดียว

ต้องไม่พลาด EasyClear นะครับ

.

สำหรับบ่อระบบกรองดั้งเดิมก็สามารถปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้นได้ง่ายๆ ด้วยเหมือนกันครับ

 ตามดูกันต่อเลย ^^

อีกวัสดุกรองนึงที่ควรใช้คือ cross flow media  ลองดูรูปหน้าตาของมีเดียชัดๆ ซิครับ

เพราะถ้าดูในเรื่องคุณสมบัติของมันก็จะเห็นว่า มันทำหน้าที่ได้สมบูรณ์แบบมาก เพราะตะกอนขี้ปลาและเศษอื่นๆ ที่ไหลผ่าน cross flow media ก็จะถูกกักเก็บไว้ด้านใต้และจะรวมตัวกันจมลงใต้ช่องกรอง ไม่เคยเกิดการอุดตันเลย เพราะความสามารถทางด้านความโปร่งของช่องน้ำจะเห็นว่ามีมหาศาล น้ำจะไหลผ่านไปได้สบายๆ โล่งๆ แต่ตะกอนชิ้นใหญ่ๆ จะหลุดลอดผ่านมันไปได้น้อยมาก ยิ่งถ้าสามารถซ้อนกันได้  3 ชั้นยิ่งได้ผลมาก

จะเห็นได้ชัดๆ เลยว่าขี้ปลาและเศษตะกอนจำนวนมากมาย

จะหยุดอยู่ใต้ช่องกรองนี้ รอให้เราดูดทิ้งไปนอกระบบอย่างง่ายดาย

ทุกบ่อที่ใช้ cross flow media แล้วจะเห็นว่ามันเก็บตะกอนไว้ได้มากจริงๆ และถูกใจกันที่ล้างง่ายมาก

.

….. ไหลต่อกันมาที่ช่องกรองถัดไปครับ มาเรียกว่าช่องกรองชีวภาพกันเถอะ ถ้าเรียกกรองละเอียดเดี๋ยวจะหลงเข้าใจผิดในหลักของการกรองกันเลยนะนั่น เพราะระบบบ่อปลาคาร์พไม่ได้มีแค่เศษตะกอนที่เรามองเห็นด้วยตาเท่านั้นนะครับ มันยังมีของเสียในรูปแบบของเหลว และก๊าซด้วยนะ และอื่นๆ อีกเยอะแยะ ทั้งเมือก ทั้งฟองโน่นนี่นั่น

เราจะเอาวัสดุกรองที่มีความละเอียดมากมายแค่ไหน

ก็ไม่สามารถกรองเอาของเสียรูปแบบของเหลวหรือก๊าซ

ออกไปได้ใช่ไหมครับ แล้วเราควรทำอย่างไรกันดีล่ะ ??

แถมปริมาณน้ำที่ไหลผ่านก็มากมายซะด้วยซิ … บางคนเอาใยแก้ว ที่เป็นใยกรองสีขาวคล้ายสำลีแผ่นหนาๆ ส่วนใหญ่ใช้ในตู้ปลา เล่นเอามาใช้กรองซะงั้น เห็นแล้วปวดหัวกันไปเลย ก็เพราะว่ามันจะตันภายในเวลาแป๊บเดียว และก็ต้องโยนทิ้งไป แล้วก็วิ่งไปซื้อใหม่อีกไม่รู้จบ มันไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องแน่ๆ เลย

มาเรียกกันใหม่ว่ากรองชีวภาพกันเถอะครับ

.

เพราะรูปแบบการกรองในขั้นตอนนี้คือการสร้างพื้นที่เกาะยึดสำหรับ

สิ่งมีชีวิตจิ๋วๆ ที่เรียกว่าแบคทีเรีย และจุลินทรีย์

.

ซึ่งต้องมีจำนวนมหาศาล เราต้องการให้พวกเขามาเกาะอาศัย

และทำงานให้เราฟรีๆ ในการดักจับกินของเสียต่างๆ ให้น้ำสะอาดขึ้น

น้ำจะมีความสมดุล ลดความสกปรกของน้ำลงด้วยวิถีของธรรมชาติแท้ๆ ครับ

พวกเขาต้องการพื้นที่มากๆ ในการยึดเกาะ แต่ต้องมีอากาศดีๆ

เราเลยต้องเติมอ๊อกซิเจนมากๆ ลงไปในน้ำเพื่อให้พวกมันใช้ในการเจริญเติบโตจะได้เพิ่มจำนวนขึ้น มารับมือกับปริมาณของเสียในระบบบ่อทั้งหมดให้มีสูสีกัน

.

และที่ต้องเน้นมากๆ อีกก็คือวัสดุกรองที่ใส่ในช่องนี้ที่ต้องมีพื้นที่

ให้เขามาเกาะอาศ้ยมากๆ คิดคำนวนกันเป็นตารางเมตรกันเลยทีเดียว

วัสดุกรองทุกชนิดมีตัวเลขพื้นที่ผิวให้เราได้เปรียบเทียบกันได้อยู่แล้ว

ค้นหาดูข้อมูลได้ไม่ยากครับ

.

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นวัสดุที่มีพื้นที่ผิวมากๆ ต้องสามารถยอมให้น้ำไหลผ่านได้ง่ายๆ ด้วยเช่นกันนะครับ

 

เพราะสาเหตุเดียวกันเลยกับช่องแรกก็คือป้องกันไม่ให้น้ำไม่เกิดอุดตันที่ช่องนี้จนเกิดปัญหาปั้มน้ำไหม้

 พื้นผิวมากๆที่ว่า ไม่ได้นับรวมกับรูพรุนที่อยู่ในซอกลึกของก้อนวัสดุนะครับ

เพราะส่วนที่อยู่ซอกลึกๆ แบบนั้นจะไม่ค่อยมีแบคทีเรียดีๆ ไปอยู่ครับ ก็เพราะมันไม่ได้สัมผัสการไหลผ่านของน้ำโดนตัวของมันเลยนี่ครับ เลยไม่มีอาหารและอากาศดีๆ เข้าไปในนั้นได้เลย

นั่นก็ทำให้วัสดุประเภทที่เป็นก้อนๆ ที่มีรูพรุนอยู่ด้านใน

ก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไรกับการบำบัดน้ำเสียแบบชีวภาพ

และส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักมาก ในเวปต่างๆ มักจะเห็นการยกให้กันฟรีๆ เลยทีเดียว

Comments are closed.